บทความ

เชื้อดื้อยา ปัญหาจากการปนเปื้อนยาในสิ่งแวดล้อม

ถึงแม้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 รัฐบาลโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้พยายามรณรงค์และให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยาที่คร่าชีวิตคนไทยสูงถึงปีละ 20,000 20,000 -38,000 38,000 คน รวมถึงปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆ ซึ่งทาให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึงละ 46,000 46,000 ล้านบาทต่อปี แต่ปัญหาผู้เสียชีวิตจากสาเหตุการติดเชื้อดื้อยาดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นเท่าใดนัก

ยาและยีนดื้อยาปฏิชีวนะตกค้างในสิ่งแวดล้อมบำบัดได้อย่างไร

ยาปฏิชีวนะเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ได้ช่วยชีวิตผู้คนมากมายตั้งแต่รักษาอาการติดเชื้อธรรมดาไปจนถึงวัณโรคและมาลาเรีย รวมทั้งถูกนำมาใช้ระหว่างการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น การผ่าตัดหรือการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ แม้กระนั้นภัยจากเชื้อดื้อยากำลังกลายเป็นวิกฤตที่เป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก ที่ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ ในวงการแพทย์เท่านั้น

ถอดบทเรียนการจำลองอากาศ กรณีโรงงานหมิงตี้เคมีคอล

เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามลพิษถูกปลดปล่อยออกมาจากเหตุโรงงานหมิงตี้เคมีคอลเกิดการระเบิดและมีเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นปริมาณเท่าไหร่ และแพร่กระจายไปที่ได คำตอบคือ เราอาจไม่สามารถรู้ได้แท้จริง เพราะไม่ได้ตรวจวัดได้ทันทีแต่เราคำนวณได้โดยใช้แบบจำลองการแพร่กระจายมลพิษอากาศ

รู้จักระวังภัยควันพิษ จากเหตุระเบิดโรงงานกิ่งแก้ว

จากกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้และระเบิดที่โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก ในซอยกิ่งแก้ว 21 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 จนถึงช่วงกลางวันก็ยังคงอยู่ในระหว่างการควบคุมเพลิงและมีการสั่งอพยพประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตรนั้น จึงขอให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายและการป้องกันตัวจากมลพิษที่เกิดจากเหตุการณ์ครั้งนี้

กระบวนการทำน้ำจืดจากน้ำเค็ม

อย่างที่รู้กันว่าน้ำทะเลและน้ำกร่อยนั้นไม่เหมาะกับการนำมาใช้อุปโภคบริโภคโดยตรง เพราะประกอบไปด้วยเกลือเป็นส่วนมาก และเพราะว่าคนเราไม่มีต่อมพิเศษที่ใช้ในการขับเกลือออกจากร่างกายเหมือนสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเล หรืออยู่แนวชายฝั่ง ทำให้เมื่อเราบริโภคน้ำเค็มเข้าไป ร่างกายก็จะดึงน้ำที่มีอยู่ในร่างกายออกมากำจัดเกลือ ซึ่งนอกจากจะทำให้ไตทำงานหนักแล้ว ยังเกิดสภาวะขาดน้ำ

เราจะฝ่าวิกฤต PM2.5 นี้ไปด้วยกัน : ปรับกระบวนทัศน์สังคม ตอนที่ 1

ในวันที่ท่านได้อ่านบทความนี้ฝุ่น PM2.5 อาจจะสูงจนน่าวิตกหรืออาจจะต่ำจนน่ายินดี ก็แล้วแต่สภาพอากาศของวันนั้นๆ แต่เป็นที่แน่นอนว่าเราจะยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 สูงเกินมาตรฐานกันต่อไป เพียงแต่จะบ่อยแค่ไหนหรือแต่ละครั้งนานเท่าไร...

เราจะฝ่าวิกฤต PM2.5 นี้ไปด้วยกัน : จัดทีมนักรบสู้ฝุ่น PM2.5 ตอนที่ 2

เมื่อวันที่บทความนี้ ตอนที่ 1 ได้ออกสู่สาธารณะ เป็นวันฟ้าใสลมพัมเย็นสบายแต่เช้า ค่า AQI อยู่ในโซนคุณภาพดี - ดีมาก (สีฟ้า-เขียว) ทุกสถานีของกรมควบคุมมลพิษในกรุงเทพและปริมณฑลอารมณ์ชาวกรุงเทพคงจะสดใสที่เพิ่งผ่านมรสุม PM2.5 มาเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า...

เราจะฝ่าวิกฤต PM2.5 นี้ไปด้วยกัน : จัดการในส่วนตัวเราให้ดี ตอนที่ 3

วันนี้มาถึงบทความตอนสุดท้ายสำหรับ "เราจะฝ่าวิกฤต PM2.5 นี้ไปด้วยกัน" สำหรับท่านที่ได้อ่านตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ด้วยแล้ว อาจนึกสงสัยแล้วว่าเรื่องคุณภาพอากาศที่ดี ฝุ่น PM2.5 ต่ำกว่ามาตรฐาน (ยิ่งต่ำยิ่งดี) ทำไมจึงดูไกลตัวเรานัก การปรับกระบวนทัศน์สังคมอาจจะยังห่างไกล...

การจัดการขยะติดเชื้อภายใต้สถานการณ์ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ โควิด-19 (COVID-19) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส โดยทุกภาคส่วนตั้งแต่หน่วยงานทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงภาคประชาชนได้มีความตื่นตัวในการรับมือและป้องกันตนเองจากการติดต่อของเชื้อโรคทั้งในรูปแบบของเหลว

กล่องโฟมใช้อย่างไรจึงปลอดภัย

หลายคนอาจสงสัยว่า กล่องโฟม หรือภาชนะใส่อาหารที่ทำจานโฟม มีความอันตรายจริงหรือไม่ เนื่องจากในสื่อสังคมออนไลน์ต่างแชร์ถึงความอันตรายของกล่องโฟมเกี่ยวกับสารก่อมะเร็งที่ตรวจพบรวมถึงกล่องโฟมเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ถูกมองในเชิงลบทางด้านสิ่งแวดล้อม บทความนี้จะขอนำเสนอเกี่ยวกับแง่มุมของ "กล่องโฟม ใช้อย่างไรจึงปลอดภัยทั้งต่อผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม"